การรักษาด้วยเทคนิคของเด็กหลอดแก้ว(IVF)

การปฏิสนธินอกร่างกาย (IN VITRO FERTILIZATION) คือการนำไข่และอสุจิมาผสมให้เกิดการปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ หลังจากนั้นจึงนำตัวอ่อนที่เกิดขึ้นใส่กลับเข้าโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ โดยมีหลักการ คือ การกระตุ้นไข่ ติดตามการเจริญเติบโตของไข่ และเก็บไข่ หลังจากนั้นนำไข่มาผสมกับ เชื้ออสุจิในห้องทดลอง เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ โดยต้องควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณก๊าซต่างๆในบรรยากาศให้เหมาะสม และใช้น้ำยาเลี้ยงตัวอ่อนที่เตรียมไว้เป็นพิเศษ ประมาณ 16-18 ชั่วโมงหลังการปฏิสนธิ จะเริ่มเกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน

การคัดแยกเชื้ออสุจิเพื่อฉีดเข้าโพรงมดลูก(IUI)

การฉีดเชื้อ หรือเรียกกัน ว่า IUI (INTRAUTERINE INSEMINATION) เป็นการฉีดเชื้ออสุจิผ่านปากมดลูกเข้าโพรงมดลูกในช่วงเวลาที่ไข่ตก IUI เป็นการรักษาในรายที่ฝ่ายชายนั้นคุณภาพเชื้ออสุจิมีปัญหาไม่มากนัก และฝ่ายหญิงจะต้องมีท่อนำไข่ที่ไม่อุดตันอย่างน้อยหนึ่งข้าง โดยวิธีนี้ฝ่ายหญิงจะได้รับการช่วยกระตุ้นรังไข่โดยใช้ยา และจะมีการตรวจติดตามการเจริญของไข่ด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ เมื่อไข่เจริญได้ขนาดที่หมาะสมแพทย์จะใช้ยาเพื่อกำหนดการตกไข่และกำหนดวันฉีดเชื้อ โดยวันที่ฉีดเชื้อนั้นฝ่ายชายจะต้องเก็บน้ำเชื้อให้ทางห้องปฏิบัติการ ทำการคัดแยกเชื้ออสุจิที่เคลื่อนไหวคุณภาพดีเตรียมให้แพทย์ฉีดเข้าสู่โพรงมดลูก เพื่อผสมกับไข่ในร่ายกาย โดยโอกาสการตั้งครรภ์จากวิธีนี้ สถิติอัตราความสำเร็จประมาณ 10-15% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาของคนไข้ในแต่ละราย

การเก็บรักษาไข่ ตัวอ่อนและเชื้ออสุจิ โดยวิธีการแช่แข็ง

การเก็บรักษาไข่ด้วยวิธีการแช่แข็ง (OOCYTE CRYOPRESERVATION) เป็นกระบวนการหรือ เทคโนโลยีที่ได้ยินกันบ่อยและเริ่มมีคนให้ความสนใจมากขึ้น แต่เดิมการเก็บรักษาไข่ด้วยวิธีแช่แข็ง ทำในคนไข้ที่มีจำนวนไข่มากหลังการกระตุ้นไข่จากการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ แช่แข็งไข่ที่ได้รับการ บริจาค แต่เนื่องจากปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคนิคในการแช่แข็งให้ดีขึ้น ทำให้อัตราความสำเร็จหลัง การละลายไข่จนสามารถปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนและตั้งครรภ์สูงขึ้นไม่ต่างจากการใช้ไข่ที่ไม่ได้ผ่านการแช่ แข็ง จึงได้มีการเก็บรักษาไข่ด้วยวิธีแช่แข็งเพิ่มมากขึ้น การเก็บรักษาตัวอ่อนด้วยวิธีการแช่แข็ง (EMBRYO CRYOPRESERVATION) การรักษาด้วยเทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์มักต้องมีการขั้นตอนการกระตุ้นไข่ ยังผลให้มีตัวอ่อนเกิดขึ้นจำนวนมาก ประมาณกันว่า 50-60% ของรอบเดือนที่กระตุ้นไข่เพื่อทำเด็กหลอดแก้ว อาจมีตัวอ่อนที่คุณภาพดีเหลือจากการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าในโพรงมดลูก เราสามารถเก็บรักษาตัวอ่อนเหล่านี้ไว้ได้โดยวิธีการแช่แข็ง เพื่อใช้สำหรับการย้ายตัวอ่อนในรอบต่อไป ซึ่งการแช่แข็งตัวอ่อนนี้ ก็ยังมีประโยชน์ในรายที่มีการกระตุ้นได้ไข่มากเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ OVARIAN HYPERSTIMULATION SYNDROME (OHSS) และในรายที่มีปัจจัยอื่นขัดขวางการฝังตัว เช่นมีปัญหาเลือดออก มีติ่งเนื้องอกหรือของเหลวคั่งในโพรงมดลูก ควรทำการรักษาปัญหาเหล่านั้นก่อน แล้วจึงค่อยทำการย้ายตัวอ่อนในรอบถัดไป การเก็บรักษาเชื้ออสุจิ ด้วยวิธีการแช่แข็ง (SPERM CRYOPRESERVATION) ในการแช่แข็งปัจจัยที่บอกถึงโอกาสที่เซลล์จะสามารถทนต่อการแช่แข็งขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่าง และน้ำในเซลล์ PERMEABILITY ของผนังเซลล์ อสุจิเป็นเซลล์ขนาดเล็ก ปริมาณของCYTOPLASM น้อย โอกาสที่จะถูกกระทบจากการแช่แข็งจึงมีน้อยกว่าเซลล์ตัวอ่อน หรือเซลล์ไข่ ดังนั้นการแช่แข็งอสุจิจึงมีวิธีที่แตกต่างและไม่ยุ่งยากเท่าการแช่แข็งตัวอ่อน ซึ่งทางคลินิกเราใช้วิธีการแช่แข็งอสุจิโดยการลดอุณหภูมิลงช้าๆด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (SLOW […]

การเก็บอสุจิจากอัณฑะ

การเก็บอสุจิจากอัณฑะ (PESA/TESA/TESE) ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน สามารถช่วยให้ฝ่ายชายที่เป็นหมัน คือไม่มีตัวอสุจิในน้ำอสุจิ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก การอุดตันของท่อนำอสุจิ หรือไม่มีท่อนำอสุจิมาตั้งแต่กำเนิด หรือมีปัญหาของการหลั่ง หรือตัวอสุจิที่หลั่งออกมาตายหมด หรือมีการอักเสบของอัณฑะเนื่องจากเชื้อไวรัสคางทูมหรืออื่นๆ สามารถมีบุตรของตนเองได้โดย อาจนำเอาตัวอสุจิออกมาใช้ในกระบวนการอิ๊กซี่ได้โดย วิธีการต่อไปนี้ พีซ่า (PESA = PERCUTANEOUS EPIDIDYMAL SPERM ASPIRATION) คือ การใช้เข็ม แทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในท่อพักน้ำเชื้อ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา มีซ่า (MESA = MICROSURGICAL EPIDDYMAL SPERM ASPIRATION) คือ การผ่าตัดเข้าไปหาท่อพักน้ำเชื้อส่วน EPIDIDYMIS แล้วจึงใช้เข็มแทงเข้าไป และดูดตัวอสุจิออกมา ทีซ่า (TESA = TESTICULA SPERM ASPIRATION) คือ การใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในลูกอัณฑะ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา ทีซี่ (TESE = TESTICULAR BIOPSY SPERM EXTRACTION) คือ การผ่าตัดเอาเนื้ออัณฑะออกบางส่วน […]

การเลี้ยงตัวอ่อนถึงระยะบลาสโตซีสต์

การเลี้ยงตัวอ่อนถึงระยะบลาสโตซีสต์ (BLASTOCYST CULTURE) ปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาน้ำยาเพาะเลี้ยงตัวอ่อน ให้สามารถเลี้ยงได้ถึงในระยะBLASTOCYST ซึ่งส่งผลให้สามารถคัดเลือกและประเมินตัวอ่อนได้ดีขึ้น ดังนั้นถ้าเราสามารถเลี้ยงตัวอ่อนได้ถึงระยะ BLASTOCYST เราก็อาจจะใส่ตัวอ่อนจำนวนน้อยลง เพื่อเป็นการลดอุบัติการณ์การตั้งครรภ์แฝด

1 2 3 4 5