ตรวจวิเคราะห์ระดับฮอร์โมนในเลือดและการประเมินการทำงานของรังไข่

เป็นการตรวจเบื้องต้นเพื่อประเมินการทำงานของกลไกการควบคุมการสร้างและหลั่งฮอร์โมนของสมอง Hypothalamus ต่อมใต้สมองและรังไข่ ซึ่งเป็นแกนหลักในการทำงานของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง การตรวจประเมินการทำงานของรังไข่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยพิจารณา วิธีการรักษาที่เหมาะสมและยังช่วยคาดการณ์การตอบสนองในการรักษารวมถึงผลการรักษาด้วย

ตรวจวิเคราะห์การเคลื่อนไหวและรูปร่างของเชื้ออสุจิ

คู่สมรสที่มีบุตรยากทุกรายควรได้รับการตรวจเชื้ออสุจิเพื่อหาสาเหตุของการมีบุตรยาก การตรวจเชื้ออสุจิประกอบไปด้วยการวิเคราะห์จำนวน การเคลื่อนที่และรูปร่างของเชื้ออสุจิ โดยทางห้องปฏิบัติการของคลินิกนวบุตร มีเครื่องมือการตรวจวิเคราะห์อสุจิด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย การเตรียมตัวเพื่อเก็บตรวจเชื้ออสุจิ หมายเหตุ งดการหลั่งเชื้ออสุจิ 3-7 วัน หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา 2-5 วัน หากท่านทานยาหรือวิตามิน ควรแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

ให้การปรึกษา หาสาเหตุ การตรวจรักษาภาวะมีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยากคือการที่คู่สมรสอยู่กินฉันสามีภรรยาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี แล้วยังไม่มีบุตรโดยไม่ได้มีการคุมกำเนิดใดๆ หรือ เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ในคู่สมรสที่ภรรยาอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป สาเหตุของภาวะมีบุตรยากมีหลากหลายปัจจัย การให้คำปรึกษาและการตรวจหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากเป็นการประเมินสภาวะความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจของคู่สมรส รวมถึงการนำไปสู่แนวทางการให้การรักษาภาวะมีบุตรยากต่อไป การรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นขึ้นกับสาเหตุและพิจารณาตามความเหมาะสมของคู่สมรสแต่ละราย

ให้การปรึกษาก่อนการสมรส/เตรียมก่อนการมีบุตร

การให้คำปรึกษาคู่สมรสก่อนแต่งงานและก่อนการมีบุตร มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมสร้างครอบครัว ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของสังคม เป็นสังคมแรกและเป็นสังคมหลักของเด็กในอนาคต ทางคลินิกนวบุตร ให้บริการการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ การตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย (THALASSEMIA) ตรวจคัดกรองโรคต่างๆที่อาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และการมีบุตร การวางแผนการมีบุตรและการคุมกำเนิดที่เหมาะสม การเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนการมีบุตร การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ

การใช้เลเซอร์ตัดเปลือกตัวอ่อนเพื่อช่วยการฟักของตัวอ่อน

เทคโนโลยีช่วยการฟักของตัวอ่อน (ASSISTED HATCHING) ตัวอ่อนก่อนระยะการฝังตัวจะมีเปลือกใสๆหุ้มอยู่ มีหน้าที่ปกป้องตัวอ่อนระยะแรกจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เมื่อถึงระยะ BLASTOCYST ตัวอ่อนจะต้องฟักออกมาจากเปลือกเพื่อเกาะกับผนังโพรงมดลูกและฝังตัวลงไป แต่บางครั้งพบว่าเกิดการล้มเหลวของการฟักและฝังตัวของตัวอ่อนซึ่งอาจเนื่อง มาจาก ตัวอ่อนมีเปลือกที่หนาเหนียวหรือแข็ง ทั้งนี้อาจเป็นผลอันเนื่องมาจากอายุของผู้ป่วย การเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ ขบวนการแช่แข็งตัวอ่อน คุณภาพของตัวอ่อน การสร้างเอนไซม์ของตัวอ่อนไม่เพียงพอที่จะย่อยเปลือกได้ จึงได้มีการศึกษาและพบว่าการตัดเปลือกบางส่วนเพื่อช่วยในการฟักของตัวอ่อนทำ ให้อัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นอย่างชัดเจน ปัจจุบันศูนย์การแพทย์นวบุตรได้นำเทคโนโลยีที่ปลอดภัยและทันสมัยล่าสุดใน ขณะนี้ โดยใช้แสงเลเซอร์ในการตัดเปลือกตัวอ่อนเพื่อช่วยในการฟัก และการเจาะเปลือกเพื่อนำเซลล์ไปตรวจความผิดปกติของโครโมโซมก่อนที่จะใส่ตัว อ่อนกลับให้แก่คนไข้

1 2 3 5