มีบุตร…ไม่ยากทำอย่างไร

1. มีบุตรในช่วงวัยที่เหมาะสม

ในยุคสมัยปัจจุบันคู่สมรสมีแนวโน้มมีบุตรช้าลงหรือเลื่อนการมีบุตรออกไป อาจจะไปด้วยภาวะเศรษฐหิจ สภาพความพร้อมของครอบครัว การเรียนหรือการศึกษาระดับสูง หน้าที่การงานที่ยังเอื้ออำนวยต่อการมีบุตร ทำให้เลยช่วงวัย 20-30 ปี ซึ่งเหมาะสมกับการมีบุตรมากที่สุดไป เมื่อถึงเวลาต้องการมีบุตรกลับพบว่าสภาพความสมบูรณ์ของร่างการและความพร้อมของการเจริญพันธุ์นั้นลดลงไปมาก ดังนั้นควรจะมีบุตรในช่วงวัยที่มีภาวะการเจริญพันธุ์สูงที่สุด

2. เตรียมสุขภาพร่างกายและจิตใจให้พร้อม

การคั้งครรภ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสรีรและทางอารมณ์ในหญิงตั้งครรภ์มากมาย การเตรียมพร้อมทางร่างกายและจิตใจที่ดีจะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ลงได้ คู่สมรสที่เตรียมจะมีบุตรควรรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ผอมหรืออ้วนเกินไป งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ สตรีที่เตรียมจะมีบุตรควรได้รับกรดโฟลิก อย่างน้อย 400 ไมโครกรัมต่อวัน เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์

3. สังเกตและจดบันทึกรอบระดู

รอบระดูสามารถบ่งบอกช่วงเวลาการจกไข่ได้ดี การมีเพศสัมพันธุ์ในช่วงวันที่มีการตกไข่ทำให้เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ รอบระดูที่ปกติควรอยู่ในช่วง 21 – 35 วัน หากรอบระดูสั้นกว่า 21 วัน หรือยาวกว่า 35 วัน อาจจะมีการตกไข่ไม่ปกติ ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุต่อไป

4. มีเพศสัมพันธุ์สม่ำเสมอ

การมีเพศสัมพันธุ์สม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์เพิ่มโอกาสมีบุตรมากขึ้นอย่างไรก็ตาม หากมีเพศสัมพันธุ์สม่ำเสมอเป็นเวลา 6 -12 เดือนแล้วยังไม่ตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการตรวจเพื่อประเมินการทำงานของระบบสืบพันธุ์ในฝ่ายหญิงและตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของเชื้ออสุจิ

5. ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจความพร้อมก่อนการมีบุตร

คู่สมรสที่เตรียมพร้อมจะมีบุตรควรได้รับการตรวจสุขภาพตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ ตรวจหาคู่เสี่ยงโรคธาลัสซีเมียซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ สตรีที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปควรได้รับการตรวจประเมินการทำงานของรังไข่ เนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้นการทำงานของรังไข่ลดลง และจะลดลงอย่างมากเมื่ออายุเกิน 37 ปี

พญ.ฐิติกุล โสตถสุพร